วันจันทร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2558

Garden of BaiFern.


   เฟิร์น หรือ เฟิน  (fern) เป็นหนึ่งในกลุ่มของพืชที่มีราว ๆ 20,000 สปีชีส์ ที่ถูกจำแนกในไฟลัม Pteridophyta หรือ Filicophyta พืชกลุ่มนี้ยังเป็น Polypodiophyta หรือ Polypodiopsida ด้วย เมื่อถือตามส่วนย่อยของพืชมีท่อลำเลียง คำว่า เทอริโดไฟต์ (pteridophyte) ใช้เพื่อกล่าวถึงพืชมีท่อลำเลียงที่ไม่มีเมล็ดทั้งหมด ทำให้มันหมายถึง "เฟิร์นและพืชใกล้เคียงเฟิร์นซึ่งสามารถสร้างความสับสนเมื่อสมาชิกของเฟิร์นในส่วน Pteridophyta บางครั้งอ้างเป็นเทอริโดไฟต์ได้ด้วยเหมือนกัน การศึกษาในเรื่องของเฟิร์นและเทอริโดไฟต์อื่น ๆ เรียกว่า วิทยาเฟิร์น (Pteridology)
วงจรชีวิต
เฟิร์นเป็นพืชมีท่อลำเลียงที่แตกต่างจากไลโคไฟตา (lycophyte) ตรงที่มีใบแท้จริง (megaphylls) ต่างจากพืชมีเมล็ด (พืชเมล็ดเปลือยและพืชดอก) ในส่วนระบบสืบพันธุ์ไม่มีดอกและเมล็ด เฟิร์นมีวงจรชีวิตแบบสลับที่มีระยะสปอโรไฟต์ (Sporophyte) และแกมีโทไฟต์ (Gametophyte)
ระยะสปอโรไฟต์
ระยะสปอโรไฟต์ คือ ระยะที่เฟิร์นสร้างสปอร์ มีโครโมโซม 2 ชุด
·         ไซโกตเจริญเป็นต้นสปอโรไฟต์โดยการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส อยู่ในรูปของเฟิร์นทีมี ราก ลำต้น และใบที่แท้จริง
·         ต้นสปอโรไฟต์เกิดการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส เพื่อสร้างสปอร์
ระยะแกมีโทไฟต์
ระยะแกมีโทไฟต์ คือ ระยะที่เฟิร์นสร้างเซลล์สืบพันธุ์ มีโครโมโซมชุดเดียว
· สปอร์เกิดการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส เจริญเป็นต้นเฟิร์นในระยะแกมีโทไฟต์ หรือเฟิร์นที่อยูในรูปโพรแทลลัส
· โพรแทลลัสเกิดการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส เป็นเซลล์สืบพันธุ์ ได้แก่ ไข่ และสเปิร์ม
· สเปิร์มเข้าผสมกับเซลล์ไข่บนโพรแทลลัส
· หลังจากสเปิร์มเข้าผสมกับเซลล์ไข่จะได้ไซโกตที่มีโครโมโม 2 ชุด เจริญเป็นเฟิร์นในระยะสปอโรไฟต์ต่อไป
นิเวศวิทยา
เฟิร์นชนิดต่าง ๆ มีถิ่นอาศัยที่หลากหลาย เช่น อาศัยบนภูเขาสูง, พื้นที่ชุ่มชื้น, พื้นที่เปิดโล่ง, ในน้ำ, บนหินในทะเลทรายที่แห้งแล้ง, บนรอยแตกบนหิน, พื้นที่ชุ่มน้ำที่มีสภาพเป็นกรด เช่น บึง และ หนองน้ำ, หรือ บนต้นไม้เขตร้อน เป็นต้น
เฟิร์นหลายชนิดพบร่วมกับเห็ดราไมคอไรซา อีกหลายชนิดเติบโตได้เฉพาะในค่าความเป็นกรด-เบส (pH) ในช่วงค่าที่มีระดับที่พิเศษ เช่น Lygodium ที่พบทางตะวันออกของทวีปอเมริกาเหนือที่เติบโตในความชื้นสูง และดินเป็นกรดเข้มข้นเท่านั้น ในขณะที่ Cystopteris bulbifera พบบนหินปูนเท่านั้น
เฟิร์นสามารถแยกได้ 7 ประเภท ตามถิ่นอาศัย
·         กลุ่มเฟินดิน-ทนแดด (terrestrial-sun-ferns)
·         กลุ่มเฟินดิน-ชอบร่มเงา (terrestrial-shade-ferns)
·         กลุ่มเฟินเถาเลื้อย (climbing ferns)
·         กลุ่มเฟินเกาะอาศัย หรือไม้อากาศ (epiphytes)
·         กลุ่มเฟินผา (lithophytic ferns หรือ rock ferns)
·         กลุ่มเฟินน้ำ (aquatic ferns)
·         กลุ่มเฟินภูเขา (mountain fern)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
เฟิร์นในระยะสปอโรไฟต์
   เฟิร์นจะมีลักษณะเช่นเดียวกันกับพืชมีเมล็ดในระยะสปอโรไฟต์อื่น โดยเฟิร์นจะประกอบไปด้วย
· ลำต้น : โดยมากมักเป็นเหง้าอยู่ใต้ดิน บางครั้งก็เป็นไหลอยู่เหนือดิน (เช่น Polypodiaceae) หรือลำต้นตั้งตรงเนื้อคล้ายไม้เหนือดิน (เช่น Cyatheaceae) ซึ่งอาจสูงได้ถึง 20 เมตรในบางชนิด (เช่น Cyathea brownii บนเกาะนอร์ฟอล์ก และ Cyathea medullaris ในประเทศนิวซีแลนด์)
·  ใบ : ส่วนสีเขียวที่ใช้ในการสังเคราะห์ด้วยแสง ใบเฟิร์นมักถูกเรียกว่าฟรอนด์ (Frond) เป็นเพราะในอดีตผู้ที่ทำการศึกษาแบ่งเป็นผู้ที่ศึกษาในเฟิร์นกับผู้ที่ศึกษาในพืชมีเมล็ด มากกว่าที่จะมาศึกษาถึงความแตกต่างทางโครงสร้าง ใบใหม่จะแผ่จากใบที่ขมวดเกลียวแน่นหรือที่เรียกว่า crozier หรือ fiddlehead การคลี่ออกของใบเป็นแบบม้วนเข้าด้านในแบบลานนาฬิกา (Circinate vernation)
·  ราก : ส่วนที่อยู่ใต้ดินทำที่ไม่ใช่ส่วนที่มีกระบวนการการสังเคราะห์ด้วยแสง ทำหน้าที่ในการนำน้ำ และสารอาหาร ขิ้นมาจากดิน
เฟิร์นในระยะแกมีโตไฟต์
แกมีโทไฟต์ (ส่วนแทลลัสสีเขียว) และสปอโรไฟต์ (ที่ยื่นสูงขึ้นมา) ของOnoclea sensibilis
ระยะแกมีโตไฟต์ของเฟิร์นจะมีลักษณะต่างจากพืชมีเมล็ดอื่น โดยที่ระยะแกมีโตไฟต์ของเฟิร์นจะประกอบไปด้วย
· โพรแทลลัส (Prothallus) : ส่วนสีเขียวที่ใช้ในการสังเคราะห์ด้วยแสง มีรูปร่างคล้ายรูปหัวใจ หรือไต ทำหน้าที่สร้างแกมมีท (Gamete) 2 ชนิด คือ แอนเทอริเดียม (Antheridium) ซึ่งเป็นโครงสร้างที่สร้างสเปิร์มและอาร์คีโกเนียม (archeagonium) ซึ่งเป็นโครงสร้างที่สร้างเซลล์ไข่ (Egg)
·  ไรซอยด์ (Rhizoid) : ส่วนคล้ายรากซึ่งไม่ใช่รากที่แท้จริงของเฟิร์น ทำหน้าที่ในการนำน้ำ และสารอาหาร ขิ้นมาจากดินสู่โครงสร้าที่เรียกว่า โพรแทลลัส



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น