วันจันทร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2558
เฟิร์นใบผักชี
เฟิร์นใบผักชี
ชื่อ : เฟิร์นใบผักชี
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Sphenmeris
chusang
เป็นเฟินดิน เกิดตามหน้าผาดิน
หรือชายเขา ที่มีแสงแดดจัด หรือร่มเล็กน้อย ก้านใบยาวประมาณ 30 ซ.ม.
ใบยาาว ประมาณ 10 -35 ซ.ม.
ใบมีลักษณะละเอียดอ่อนคล้ายผักชี สปอร์เกิดที่ปลายใบ ใบใช้ตัดฟ้อกย้อมได้ดี
ในประเทศไทยพบมากทางภาคเหนือ ปลูกเลี้ยงได้ไม่ยากนัก
ใบเป็นฝอยคล้ายๆใบผักชีสีเขียวเข้มโดยมากมักจัด ไว้ด้านหน้าของสวนถาด
เพราะต้นเตี้ยมาก ขยายพันธุ์โดยการแยกไหล
เฟิร์นแววปีกแมลงทับ
เฟิร์นแววปีกแมลงทับ
ชื่อสามัญ : เฟิร์นแววปีกแมลงทับ
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Microsorum thailandicum
วงศ์ : POLYPODIACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Microsorum thailandicum
วงศ์ : POLYPODIACEAE
ลักษณะ: มีเหง้าเลื้อยสั้น ใบเดี่ยวปกติ รูปขอบขนาน ปลายแหลม
ใบหนาและค่อนข้างแข็ง ผิวใบด้านบนสีเขียวมีใบสีเขียวเข้มเหลือบน้ำเงินคล้ายสีปีกแมลงทับขยายพันธุ์ได้ง่าย
เฟิร์นชนิดนี้มีใบกว้างประมาณ 3-4 ซม. มีความยาวของใบสั้น และมีรูหยาด
เฟิร์นชายผ้าสีดา
เฟิร์นชายผ้าสีดา
ชื่อวิทยาศาสตร์ Platycerium holttumii Joncheere & Hennipman
เฟิร์นชายผ้าสีดาเป็นเฟินอิงอาศัย (Epiphytes) มักเกาะอยู่ตามคาคบไม้ใหญ่ แต่ไม่จัดเป็นพืชจำพวกกาฝาก เพราะไม่ได้ดูดกินอาหารจากต้นไม้ที่อาศัยอยู่ ส่วนมากมีแหล่งกำเนิดอยู่ในป่า แต่บางชนิดก็อาจพบได้ในพื้นที่แห้งแล้ง เช่น P. veitchii บางต้นที่ขึ้นอยู่ตามหน้าผาหินร้อนระอุในเขตกึ่งทะเลทรายของทวีปออสเตรเลีย ซึ่งฝนทิ้งช่วงนานหลายเดือน
เฟิร์นชายผ้าสีดาเหมาะสำหรับใช้เป็นไม้ประดับในการติดตามกำแพงบ้านหรือตามต้นไม้ใหญ่
สรรพคุณทางยาใช้ในการบรรเทาปวด ลดไข้ โดยเอาใบมาต้มน้ำอาบผสมสมุนไพรในการแก้ไข้สูง
ชาวเขาบางเผ่าใช้ใบของชายผ้าสีดาในการต้มน้ำดื่มเพื่อรักษาอาการอ่อนเพลีย
หรือบ้างก็นำส่วนชายผ้าสีดามาลวกให้สุกแล้วกินจิ้มกับน้ำพริก
เฟิร์นนาคราช
เฟิร์นนาคราช
เฟินนาคราช (Davallia) เป็นพืชสกุลหนึ่งของเฟิร์น
มีเหง้าเลื้อยบนพื้นดินโขดหินและบนต้นไม้ เหง้าปกคลุมด้วยเกล็ดหรือขนจำนวนมาก
มักอยู่รวมกับพวกมอส มีอยู่ประมาณ 40 ชนิด พบทั้งในป่าเขตร้อน
ไปจนถึงป่าเขตหนาว นิยมปลูกเพื่อประดับและตัดใบเพื่อตบแต่ง
ลูกเลี้ยงในที่อากาศถ่ายเทสะดวก
ได้แสงแดด 50% หรือแสงที่ได้พรางไว้บางส่วน หากต้องการนำมาปลูกเลี้ยงในอาคาร
ควรหมั่นพ่นฝอยละอองน้ำให้บ่อย เพื่อให้มีความชื้นมากๆ
ควรระวังอย่าให้น้ำขังแฉะ
โดยเฉพาะที่ยอดเหง้า อีกทั้งสภาพอากาศที่แห้ง
หรือความชื้นไม่พอจะทำให้ปลายยอดเหง้าเหี่ยวแห้งได้
อีกทั้งแมลงชอบกัดกินใบและยอดเหง้าของนาคราชด้วย
เฟิร์นกนกนารี
เฟิร์นกนกนารี
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Selaginella involvens (Sw.) Spring
ลักษณะทั่วไป ต้นเลื้อยคลุมดิน
มีบ้างที่เป็นเฟินเกาะอาศัยแต่น้อยมาก ขนาดต้นมีตั้งแต่เล็กถึงขนาดกลาง ลำต้น
ไม่มีเนื้อไม่ ชูส่วนปลายยอดตั้งขึ้น และมักแตกกิ่งก้านเป็นคู่ๆ
แผ่กระจายในระนาบเดียวเป็นส่วนมาก ที่ข้างลำต้นมีรากงอกบริเวณด้านล่างและราก
มีแตกสาขาเป็นคู่ๆด้วยเช่นกัน
การปลูกเลี้ยง :
ส่วนมากปลูกเลี้ยงได้ง่าย ยกเว้นแต่บางชนิดที่มาจากสภาพเฉพาะถิ่นจริงๆ ส่วนมากนิยมใช้ปลูกประดับในสวนได้สวยงาม
ปลูกประดับเป็นไม้คลุมดิน เกาะหิน เกาะตุ่มน้ำ หรือปลูกเป็นไม้กระถาง วางประดับโต๊ะหรือม้านั่งในสวน
หรือจะปลูกเป็นไม้ในกระเช้าแขวนประดับ ปลูกเลี้ยงไม่ยาก ชอบความชื้นสูง แสงแดดรำไร
สภาพอากาศไม่ร้อนหรือเย็นมากเกินไป และที่สำคัญอากาศต้องถ่ายเทสะดวก
เฟิร์นก้านดำ
เฟิร์นก้านดำ
เฟินก้านดำได้ชื่อสามัญในภาษาอังกฤษว่า
Maidenhair ferns ซึ่งหากแปลกันตามตัวก็คงจะต้องเรียกว่า
“เฟินผมแหม่ม”
การปลูกเลี้ยงเฟิร์นก้านดำชนิดทั่วไป มีปัจจัยหลักสำคัญอยู่ 3 ประการ
คือ เครื่องปลูกร่วนโปร่งระบายน้ำดี
เก็บความชื้นไว้ได้นาน มีอินทรีย์วัตถุมาก ต้องการแสงรำไรและมีบรรยากาศชุ่มชื้นดี การให้น้ำกับเฟิร์นก้านดำ ควรให้ในปริมาณที่พอเหมาะ รดน้ำลงดินอย่าให้โดนใบ
ควรปล่อยให้มีช่วงที่เครื่องปลูกแห้งบ้าง ก่อนที่จะให้น้ำชุ่มในครั้งต่อไป
แต่ไม่ควรปล่อยให้อดน้ำกระทั่งใบเหี่ยวฟุบ จะทำให้ต้นโทรม
เครื่องปลูกที่เหมาะสมกับเฟิร์นก้านดำ ประกอบด้วย ดินร่วน ทรายหยาบ และอินทรีย์วัถตุ เช่น ใบไม้ผุ
หรือใช้พีทมอสผสมกับเพอร์ไลท์ เฟิร์นก้านดำบางชนิดชอบเครื่องปลูกที่มีแคลเซี่ยมมาก
ควรเติมหินปูน หินอ่อน หรือเปลือกหอย ทุบให้ละเอียด
โรยหน้าเครื่องปลูก
การปลูกลงกระถาง ควรรองก้นด้วยวัสดุหยาบ เช่น เศษอิฐหัก เศษกระเบื้อง หรือเศษหักของกระถางดินเผา หรือหิน รองก้นในกระถางสัก 1/4 ของความสูง เพื่อให้ระบายน้ำได้ดี ส่วนปุ๋ยสำหรับเฟิร์นก้านดำ ใช้ปุ๋ยสูตรเสมอ N-P-K ก็เพียงพอ
การปลูกลงกระถาง ควรรองก้นด้วยวัสดุหยาบ เช่น เศษอิฐหัก เศษกระเบื้อง หรือเศษหักของกระถางดินเผา หรือหิน รองก้นในกระถางสัก 1/4 ของความสูง เพื่อให้ระบายน้ำได้ดี ส่วนปุ๋ยสำหรับเฟิร์นก้านดำ ใช้ปุ๋ยสูตรเสมอ N-P-K ก็เพียงพอ
Garden of BaiFern.
เฟิร์น หรือ เฟิน (fern) เป็นหนึ่งในกลุ่มของพืชที่มีราว
ๆ 20,000 สปีชีส์ ที่ถูกจำแนกในไฟลัม Pteridophyta หรือ Filicophyta
พืชกลุ่มนี้ยังเป็น Polypodiophyta หรือ Polypodiopsida
ด้วย เมื่อถือตามส่วนย่อยของพืชมีท่อลำเลียง คำว่า เทอริโดไฟต์ (pteridophyte) ใช้เพื่อกล่าวถึงพืชมีท่อลำเลียงที่ไม่มีเมล็ดทั้งหมด
ทำให้มันหมายถึง "เฟิร์นและพืชใกล้เคียงเฟิร์น" ซึ่งสามารถสร้างความสับสนเมื่อสมาชิกของเฟิร์นในส่วน
Pteridophyta บางครั้งอ้างเป็นเทอริโดไฟต์ได้ด้วยเหมือนกัน
การศึกษาในเรื่องของเฟิร์นและเทอริโดไฟต์อื่น ๆ เรียกว่า วิทยาเฟิร์น (Pteridology)
วงจรชีวิต
เฟิร์นเป็นพืชมีท่อลำเลียงที่แตกต่างจากไลโคไฟตา
(lycophyte) ตรงที่มีใบแท้จริง (megaphylls) ต่างจากพืชมีเมล็ด (พืชเมล็ดเปลือยและพืชดอก)
ในส่วนระบบสืบพันธุ์ไม่มีดอกและเมล็ด
เฟิร์นมีวงจรชีวิตแบบสลับที่มีระยะสปอโรไฟต์ (Sporophyte) และแกมีโทไฟต์ (Gametophyte)
ระยะสปอโรไฟต์
ระยะสปอโรไฟต์ คือ
ระยะที่เฟิร์นสร้างสปอร์ มีโครโมโซม
2 ชุด
·
ไซโกตเจริญเป็นต้นสปอโรไฟต์โดยการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส
อยู่ในรูปของเฟิร์นทีมี ราก ลำต้น และใบที่แท้จริง
·
ต้นสปอโรไฟต์เกิดการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส เพื่อสร้างสปอร์
ระยะแกมีโทไฟต์
ระยะแกมีโทไฟต์ คือ
ระยะที่เฟิร์นสร้างเซลล์สืบพันธุ์ มีโครโมโซมชุดเดียว
· สปอร์เกิดการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส
เจริญเป็นต้นเฟิร์นในระยะแกมีโทไฟต์ หรือเฟิร์นที่อยูในรูปโพรแทลลัส
· โพรแทลลัสเกิดการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส เป็นเซลล์สืบพันธุ์ ได้แก่
ไข่ และสเปิร์ม
· สเปิร์มเข้าผสมกับเซลล์ไข่บนโพรแทลลัส
· หลังจากสเปิร์มเข้าผสมกับเซลล์ไข่จะได้ไซโกตที่มีโครโมโม 2 ชุด
เจริญเป็นเฟิร์นในระยะสปอโรไฟต์ต่อไป
นิเวศวิทยา
เฟิร์นชนิดต่าง ๆ มีถิ่นอาศัยที่หลากหลาย เช่น
อาศัยบนภูเขาสูง, พื้นที่ชุ่มชื้น, พื้นที่เปิดโล่ง, ในน้ำ, บนหินในทะเลทรายที่แห้งแล้ง, บนรอยแตกบนหิน, พื้นที่ชุ่มน้ำที่มีสภาพเป็นกรด เช่น
บึง และ หนองน้ำ, หรือ บนต้นไม้เขตร้อน เป็นต้น
เฟิร์นหลายชนิดพบร่วมกับเห็ดราไมคอไรซา อีกหลายชนิดเติบโตได้เฉพาะในค่าความเป็นกรด-เบส (pH)
ในช่วงค่าที่มีระดับที่พิเศษ เช่น Lygodium ที่พบทางตะวันออกของทวีปอเมริกาเหนือที่เติบโตในความชื้นสูง
และดินเป็นกรดเข้มข้นเท่านั้น ในขณะที่ Cystopteris bulbifera พบบนหินปูนเท่านั้น
เฟิร์นสามารถแยกได้ 7 ประเภท ตามถิ่นอาศัย
·
กลุ่มเฟินดิน-ทนแดด
(terrestrial-sun-ferns)
·
กลุ่มเฟินดิน-ชอบร่มเงา
(terrestrial-shade-ferns)
·
กลุ่มเฟินเถาเลื้อย
(climbing ferns)
·
กลุ่มเฟินเกาะอาศัย
หรือไม้อากาศ (epiphytes)
·
กลุ่มเฟินผา
(lithophytic
ferns หรือ rock ferns)
·
กลุ่มเฟินน้ำ
(aquatic ferns)
·
กลุ่มเฟินภูเขา
(mountain fern)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
เฟิร์นในระยะสปอโรไฟต์
เฟิร์นจะมีลักษณะเช่นเดียวกันกับพืชมีเมล็ดในระยะสปอโรไฟต์อื่น
โดยเฟิร์นจะประกอบไปด้วย
· ลำต้น : โดยมากมักเป็นเหง้าอยู่ใต้ดิน
บางครั้งก็เป็นไหลอยู่เหนือดิน (เช่น Polypodiaceae) หรือลำต้นตั้งตรงเนื้อคล้ายไม้เหนือดิน
(เช่น Cyatheaceae) ซึ่งอาจสูงได้ถึง
20 เมตรในบางชนิด (เช่น Cyathea brownii บนเกาะนอร์ฟอล์ก และ Cyathea
medullaris ในประเทศนิวซีแลนด์)
· ใบ
: ส่วนสีเขียวที่ใช้ในการสังเคราะห์ด้วยแสง ใบเฟิร์นมักถูกเรียกว่าฟรอนด์ (Frond) เป็นเพราะในอดีตผู้ที่ทำการศึกษาแบ่งเป็นผู้ที่ศึกษาในเฟิร์นกับผู้ที่ศึกษาในพืชมีเมล็ด
มากกว่าที่จะมาศึกษาถึงความแตกต่างทางโครงสร้าง ใบใหม่จะแผ่จากใบที่ขมวดเกลียวแน่นหรือที่เรียกว่า
crozier หรือ fiddlehead การคลี่ออกของใบเป็นแบบม้วนเข้าด้านในแบบลานนาฬิกา
(Circinate vernation)
· ราก : ส่วนที่อยู่ใต้ดินทำที่ไม่ใช่ส่วนที่มีกระบวนการการสังเคราะห์ด้วยแสง ทำหน้าที่ในการนำน้ำ
และสารอาหาร ขิ้นมาจากดิน
เฟิร์นในระยะแกมีโตไฟต์
แกมีโทไฟต์ (ส่วนแทลลัสสีเขียว) และสปอโรไฟต์
(ที่ยื่นสูงขึ้นมา) ของOnoclea sensibilis
ระยะแกมีโตไฟต์ของเฟิร์นจะมีลักษณะต่างจากพืชมีเมล็ดอื่น
โดยที่ระยะแกมีโตไฟต์ของเฟิร์นจะประกอบไปด้วย
· โพรแทลลัส (Prothallus) : ส่วนสีเขียวที่ใช้ในการสังเคราะห์ด้วยแสง มีรูปร่างคล้ายรูปหัวใจ
หรือไต ทำหน้าที่สร้างแกมมีท (Gamete) 2 ชนิด คือ
แอนเทอริเดียม (Antheridium) ซึ่งเป็นโครงสร้างที่สร้างสเปิร์มและอาร์คีโกเนียม (archeagonium)
ซึ่งเป็นโครงสร้างที่สร้างเซลล์ไข่ (Egg)
· ไรซอยด์ (Rhizoid) : ส่วนคล้ายรากซึ่งไม่ใช่รากที่แท้จริงของเฟิร์น ทำหน้าที่ในการนำน้ำ
และสารอาหาร ขิ้นมาจากดินสู่โครงสร้าที่เรียกว่า โพรแทลลัส
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)